วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกครั้งที่13                                              




 การเรียนแผนการสอนโดยการทำCooking จะแบ่งฐานออกเป็นทั้งหมด 5 ฐาน แต่ละฐานจะมีขั้นตอนต่างๆเพื่อนให้นักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้  จากนั้น แบ่งกลุ่มให้เท่าๆกันและเข้าฐาน ดังนี้


                                                                         1 ตัดกระดาษเป็นวงกลม






2 หั่นผักเพื่อผสมไข่








 3 ตอกไข่







4.ปรุงรส



                                                                      5,ลงมือปฎิบัติ


  เมื่อแต่ทุกกลุ่มทำเสร็จแล้ว  จะได้เกิดการเรียนรู้ในการสอนแผนได้อย่างทั่วถึง จากนั้นนำผลงานที่ของแต่ละคนที่ทำมารวมกันเพื่อแสดงถึงผลงานความสำเร็จของตนเอง และนำไข่ทาโกะยากิของนักศึกษาแลกเปลี่ยนกันลิ้มรส




บันทึกครั้งที่12
  



วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่  4 พฤจิกายน  พ.ศ. 2557
เวลาเรียน  08:30 น. - 12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอแผนการสอนให้เสร็จก่อนหลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้คำแนะนำเพิ่มเติม
ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อนกระทุ้นความคิดให้เด็กจากประสบการณ์เดิมของเด็กทำให้มีความคิดต่อยอด  ทักษะการวิเคราะการคิดสร้างสรรค์

   1.กรอบมาตรฐาน
     2.สาระที่ควรเรียนรู้
     3.แนวคิด
     4.เนื้อหา
     5.ประสบการณ์สำคัญ
     6.บูรณาการ
     7.กิจกรรมหลัก
     8.วัตถุประสงค์


กิจกรรมท้ายคาบ



วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่11


วันนี้อาจารย์พาทดลองวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ อากาศ น้ำ  และการลอยการจม








การทดลองทางวิทยาศาสตร์เราสามารถนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้ต่อไปในอนาคตให้เหมาะสมกับเด็ก
บันทึกครั้งที่10
วันที่21 ตุลาคม 2557

วันนี้เรียนต่อจากสัปดาห์ที่แล้วเรื่องสื่อวิทยาศาสตร์
อาจารย์ได้อธิบายถึงขั้นตอนการเขียนแผน มีดังนี้

  1. วัตถุประสงค์
  2. สาระที่ควรเรียนรู้
  3. เนื้อหา
  4. แนวคิด
  5. ประสบการณ์สำคัญ
  6. กรอบพัฒนาการและกิจกรรมสำคัญ
  7. บูรณาการทักษะรายวิชา
  8. แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม
  9. แผนการสอนแต่ละวัน

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่14 ตุลาคม 2557 วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

บันทึกการเข้าเรียนคั้งที่9 


สื่อการเรียนรู้ของตัวเอง







อุปกรณ์ Tool
ขวดน้ำเปล่า 1 ขวด
ฝาขวดน้ำ 2 ฝา
สก๊อตเทป 
คัตเตอร์
ยางยืด


วิธีการทำ Step
1.ตัดขวดน้ำเอาแต่ส่วนก้นขวด
2.เจาะรูก้นขวดเพื่อที่จะเอายางยืดสอดเข้า
3. นำฝาขวดน้ำมาประกอบกับ หรือจะใช้ท่อนไม้ก็ได้
4.จากนั้นก็เจาะรูตรงกลางของฝาเพื่อจะสอดยางยืดเข้าไป
5.เอาสก๊อตเทปพันรอบฝาขวดน้ำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แค่นี้ก็เสร็จแล้วค่ะ


วิธีการเล่น
  ใช้มือจับแล้วแกว่งไปแกว่งมาให้ฝาขวดน้ำ ตกลงไปในขวด


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    จากการที่ได้ประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีเทคนิคในการการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์เพราะสื่อแต่ละสื่อจะมีความรู้ที่แตกต่างกันออกไปและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างดี

ประเมินตนเอง
 การเรียนในวันนี้ทำให้รู้เทคนิคการที่จะสื่อมานำเสนอ และเหมาะสมกับเด็ก

ประเมินเพื่อน
ทุกคนตั้งใจเรียน และสนใจอาจารย์มากขึ้น 


 ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความตั้งใจ ในการสอนและมีเทคนิคการสอนนักศึกษาเป็นอย่างดี



วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความทางวิทยาศาสตร






สอนลูกเรื่องหิน

 (Teaching Children about Rocks)

ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

บทนำ

การสอนลูกเรื่องหิน (Teaching Children about Rocks) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับของแข็งที่เกิด ขึ้นเองตามธรรมชาติ จากการผสมของแร่ธาตุชนิดต่างๆ หรือแร่ธาตุกับซากสัตว์ดึกดำบรรพ มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน แตก ต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่ ทั้งนี้ หิน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่คนเรานำมาใช้ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในสี่ที่จำเป็นของชีวิตคนเรา และนำมาใช้เป็นเครื่องใช้อื่นๆอีกมากกมาย หินจึงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก สถานศึกษาจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องหินให้เด็กปฐมวัยได้รับประสบการณ์ ไว้ในสาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ให้เด็กได้รับประสบการณ์สำคัญที่ส่ง เสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กได้มีโอกาสแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง ผ่านการสำรวจหินและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ สามารถนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งสถานศึก ษาและพ่อแม่ควรร่วมมือจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องหินให้แก่เด็ก

การสอนเรื่องหินสำคัญอย่างไร?

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยมีความต้องการตามวัยประการหนึ่งคือ อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเอง โดยการได้ทดลอง จับสัมผัสอยู่เสมอ ดังนั้น พ่อแม่และครูจะต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็ก และคัดสรรความรู้มาใช้จัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก คือการให้โอกาสเด็กได้ตรวจสอบ และค้นพบข้อเท็จจริงต่างๆ ตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 สำหรับเด็กอายุ 3 -5 ปี หินอยู่ในสาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว เนื้อหาที่เด็กจะเรียนรู้ได้ว่า หินคืออะไร มีรูปร่างลักษณะอย่างไร อยู่ที่ไหน มีชนิดใดบ้าง เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร เมื่อครูนำสาระมาพิจารณาจัดผสมผสานหรือบูรณาการแล้ว สามารถจัดหลอมสาระการเรียนรู้อื่น ได้แก่ เรื่องสถานที่แวดล้อมเด็ก เช่น สถานที่ใดบ้างนำหินมาใช้ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์อะไร หรือสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเด็ก ได้แก่ เรารู้สึกอย่างไรเมื่อสัมผัสหิน (หนัก เบา ราบเรียบ ขรุขระ สีต่างๆ) เราเห็นรูปร่าง ลักษณะ เป็นอย่างไร (กลม แบน ใหญ่ เล็ก) หรือ สาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว เช่น สิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างจากหิน ได้แก่บ้านที่อยู่อาศัย โต๊ะ ม้านั่งหิน หินลับมีด สร้อยหิน ฯลฯ การนำสาระการเรียนรู้มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จะคำนึงถึงหลักการสำคัญคือ การสนับสนุนให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการจับต้อง หิน ได้ลงมือกระทำกับหิน ได้ทดลองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับหิน ได้เคลื่อนไหวตนเองไปสู่แหล่งเรียนรู้ หิน เพื่อเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริงของตนเองได้ต่อ ไป
เด็กทุกคนควรได้รับการพัฒนาให้ตระหนักว่า สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเขานั้น เป็นสิ่งที่ควรรู้ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับสิ่งนั้นๆให้ได้อย่างเป็นปกติสุข เด็กจึงควรได้รับการฝึกฝนให้คิดจากประสบการณ์ที่ได้รับ โดยเฉพาะการฝึกฝนตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อเป็นการวางพื้นฐานโครงสร้างกรอบแนวคิด (Conceptual Framework) เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว หิน เป็นสาระเกี่ยวกับวิทยา ศาสตร์ที่มีความหมายกับชีวิตของคนเรา นอกจากนี้ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เจริญเติบโตตามวัย ครอบคลุมการพัฒนา การทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้การเป็นผู้ใหญ่ต่อไปในอนาคตของเด็กเกิดคุณภาพชีวิต การจัดประสบการณ์หรือการสอนเรื่องหิน สามารถทำให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านได้ดังนี้ คือ
  • ด้านร่างกาย เด็กได้มีโอกาสพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก คือ นิ้วมือ หยิบจับก้อนหิน ได้ปีนป่ายบนก้อนหินก้อนใหญ่ ได้กระโดดข้ามก้อนหิน หรือ กระโดดไปมาบนหินก้อนใหญ่ กว้าง เรียบ เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทำงาน เพื่อสมองเด็กจะได้ รับรู้ข้อมูลจากการเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อใช้หินเป็นอุปกรณ์ จะช่วยการพัฒนาการทางกายเด็กพัฒนาไปได้ดี
  • ด้านอารมณ์และจิตใจ เด็กจะมีความสุขที่ได้รับการตอบสนองความต้องการที่จะรู้เห็นโดยการสำรวจ ทดลอง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเขา คือก้อนหิน เด็กจะได้รับการอบรมสั่งสอนที่จะวางตนในการศึกษาหาความรู้ ได้รับการฝึกการคิด การตัดสินใจ รู้จักที่จะเลือกวิธีการแสวงหาความรู้ตามความสามารถของตนเอง
  • ด้านสังคม เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้ช่วยเหลือตนเอง ในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับก้อนหิน รู้จักทำงานกับเพื่อน (เล่น ทดลองหาคำตอบที่สงสัยเรื่องหิน หรือก้อนหิน) การที่เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมกับผู้อื่น จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะเรียนรู้เรื่องกฎ ระเบียบ คุณค่าของผู้อื่น และของตนเอง
  • ด้านสติปัญญา การเรียนรู้เรื่องก้อนหิน จะต้องให้เด็กคิดหาคำตอบจากปัญหาที่ถาม ตามความเหมาะสมตามวัย เด็กจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เกิดจากการสืบค้นเรื่องก้อนหิน จากการออกแบบสร้างสรรค์งานจากก้อนหิน จากการเล่นกับก้อนหิน และอื่นๆ
การส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กเจริญโตทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เป็นสิ่งต้องกระทำให้แก่เด็กตั้งแต่ช่วงปฐมวัย เป็นสิ่งจำเป็น การส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านโดยสอนเรื่องหิน จะสามารถทำให้เด็กพัฒนาได้เป็นอย่างดี

การสอนเรื่องหินมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

เมื่อเด็กได้รับการส่งเสริมให้เรียนเรื่องหิน ซึ่งเป็นวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กดังนี้
  • เป็นการช่วยให้เด็กได้เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ได้รู้ข้อเท็จจริงเรื่องของ หิน ซึ่งเด็กเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน การที่เด็กได้โอกาสทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริงแล้ว จะพัฒนาเกิดเป็นความรู้ และความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์เรื่องของก้อนหิน
  • ความรู้ ความเข้าใจเรื่องหิน จะส่งเสริมความชื่นชอบของเด็ก ทำให้เกิดความคงที่ของความรู้ ความเข้าใจ และความกระตือรือร้นให้กับเด็ก เด็กจะแสดงออกด้วยการพูด สนทนา ซักถาม และสืบค้นหาความรู้สืบต่อไป คือ ได้ไปสำรวจ ตรวจสอบ ทดลอง พัฒนาความสามารถในการคิด การถามอย่างง่ายๆได้
  • เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสและใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายเพื่อการสำรวจ จะทำเด็กได้ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กทำงาน
  • เด็กจะได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ การออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่ได้จากก้อนหิน หรือมีก้อนหินเป็นส่วนประกอบ
ก้อนหินมีประโยชน์ที่จะนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กสำรวจ สัมผัส สืบค้น เด็กจะได้สาระเนื้อหา ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของก้อนหิน สร้างอารมณ์และความรู้สึกที่ดีของก้อนหิน ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็กของเด็ก และได้ฝึกใช้จิตนาการนำไปสู่การสร้างสรรค์ก้อนหิน

ครูสอนเรื่องหินให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?

ครูปฐมวัยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องหินที่โรงเรียนได้หลากหลายวิธี แต่ละวิธีจะมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน ในที่นี้ จะเน้นเฉพาะวิธีการจัดประสบการณ์แบบมุ่งประสบการณ์ตรง และการสอนแบบบูรณาการ ดังนี้คือ
1. การจัดประสบการณ์แบบมุ่งประสบการณ์ตรง
การจัดประสบการณ์แบบมุ่งประสบการณ์ตรง หมายถึง การสอนที่กำหนดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเผชิญด้วยตนเอง เน้นการปฏิบัติจริง และการเสาะแสวงหาความรู้จากแหล่งวิทยาการ แหล่งประสบการณ์หรือสถานการณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้ ได้รับประสบการณ์กำหนดไว้ มีหลากหลายวิธีที่ส่งเสริมให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยตนเอง ได้แก่ การสอนแบบศึกษานอกสถานที่ (Taking Field Trip) ซึ่งเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่นำนักเรียนไปศึกษาเรียนรู้ในที่เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ หิน ได้แก่ ภูเขา ชายทะเล น้ำตก ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ร้านจำหน่ายสินค้าที่ผลิตจากหิน เป็นต้น การจัดนำเด็กไปศึกษานอกสถาน ที่ จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กอย่างยิ่ง เพราะเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงเรื่องก้อนหิน และสถานที่ที่นำเด็กไป เช่น มีความรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อมของทะเล แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา แต่ละแห่งอาจจะมีก้อนหินเหมือนกัน หรือแตกต่างกันทั้งรูปร่าง ลักษณะ สี จำนวน ในร้านค้าวัสดุก่อสร้างและร้านจำหน่ายสินค้าที่ผลิตจากหิน จะเป็นแหล่งนำก้อนหินหลากหลายชนิดมาจำหน่าย อาจทำกิจกรรมเรื่องหิน ได้แก่ วิธีการสำรวจรูปร่างลักษณะหินด้วยการหยิบ จับ แต่ไม่อนุญาตให้นำกลับออกไปจากแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ (เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม) อาจเดินดูหินที่อยู่ในสภาพธรรมชาติ ในละแวกใกล้โรงเรียน หินที่สกัดนำมาสร้างอาคาร เข้าไปใกล้ๆดูสภาพหินในธรรมชาติ ดูร่องรอยการผุกร่อนเพราะสภาพอากาศ เช่นมีรอยแตก การแตกแยกจากกันเพราะแรงน้ำ ชี้ชวนให้เด็กสังเกตทางเดินหินที่คนใช้เป็นบันไดทางขึ้น ทางเดินที่ปูด้วยแผ่นหินแบนๆ เป็นต้น หรือกิจ กรรมจำแนกก้อนหินตามเกณฑ์กำหนด เช่นแยกตามสี รูปร่าง ฯลฯ ครูจะสนับสนุนให้เด็กตอบคำถามหรือตั้งคำถาม เรื่องหิน เช่น หินมีรูปร่างลักษณะอย่างไร แหล่งใดบ้างที่มีหิน จัดกิจกรรมแบบเล่นปนเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น ร้องเพลงก้อนหิน เล่นเกมและใช้ก้อนหินเป็นอุปกรณ์ประกอบ เช่น เล่นทอยก้อนหินลงหลุม เรียงขนาดก้อนหินจากเล็กไปใหญ่ นับจำนวนก้อนหิน สร้างคำจากก้อนหิน เล่าเรื่องก้อนหินที่ไปสำรวจ ฯลฯ
2.การสอนแบบบูรณาการ
การสอนแบบบูรณาการหมายถึง การนำศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกัน หรือ ผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่มีความหมาย มีความหลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การนำเอาความรู้สาขาวิชาต่างๆ มาสัมพันธ์กัน หรือนำมาผสมสานกันมีหลายลักษณะ เช่น การบูรณาการความรู้ การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ หรือเนื้อ หาสาระความรู้ต่างๆ เป็นต้น การบูรณาการเนื้อหา เป็นการบูรณาการประเภทพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) โดยจะนำเรื่องที่ต้องการจะบูรณาการไปสอดแทรกในวิชาต่างๆ การบูรณาการแบบนี้เป็นที่น่าสนใจนำมาใช้จัดการเรียนการสอนอย่างแพร่หลาย สำหรับเด็กปฐมวัยที่ควรเรียนรู้แบบให้เนื้อหาสอดประสานกลมกลืนกันมากที่สุด ดังเรื่องหิน จะจัดเนื้อหาได้ดังนี้คือ
  • วิทยาศาสตร์: หินเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เกิดจากการผสมของแร่ธาตุ ซากพืชซากสัตว์ มีรูปร่างลักษณะ สี และขนาดแตก ต่างกัน
  • สังคมศึกษา: คนเราใช้หินในชีวิตหลากหลาย เช่น สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องใช้ (ครก โต๊ะ ม้านั่ง) เครื่องประดับ (สร้อย กำไลหยก ฯลฯ)
  • คณิตศาสตร์: หินมีหลายชนิด หลายขนาด มีรูปร่างแตกต่างกัน พ่อค้า แม่ค้า จะบรรจุก้อนหินก้อนเล็กๆขายเป็นกระสอบ ขนาดใหญ่ (ทำที่นั่ง) ขายเป็นก้อน การนับจำนวนก้อนหิน การชั่งน้ำหนักก้อนหิน การเรียงลำดับขนาดก้อนหิน เป็นต้น
  • สุขศึกษา: หลังการหยิบจับก้อนหินควรล้างมือให้สะอาด หรือ ควรล้างก้อนกินก่อนที่นำมาตกแต่ง
  • ภาษา: หินแต่ละชนิดมีชื่อแตกต่างกัน เครื่องประดับจากหินมีชื่อ เช่น กำไลหยก สร้อยนิล ฯลฯ
  • พลศึกษา: เล่นหมากเก็บ เกมทอยก้อนหิน เกมปาราวก้อนหิน เกมอีกาฟักไข่ เกมขุดสมบัติ (ฝังก้อนหินไว้ที่ต่างๆ)
  • ศิลปะ: ภาพต่อบนพื้นทราย (ใช้ก้อนหินแบนๆ ต่อภาพเป็นลวดลายต่างๆบนพื้นทรายเปียก) สร้างภาพจากก้อนหิน ทาสีสวยงาม
  • เพลง/ดนตรี: เคลื่อนไหวประกอบท่าทางเดิน เป็นก้อนหิน ครูใช้ดนตรีบรรเลงประกอบท่าทางเดิน ให้นักเรียนคิดท่าทางอย่างอิสระ ร้องเพลงก้อนหิน (ครูอาจแต่งเอง ใช้ทำนองเพลงง่ายๆ)
    จากแนวบูรณาการดังกล่าว ครูปฐมวัยจะนำไปจัดให้สอดคล้องกับกิจกรรมหลักทั้งหก ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ผ่านการเล่น การทดลอง หรือการให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยตนเอง ดังนี้
  • กิจกรรมกลางแจ้ง วิ่งเก็บก้อนหินใส่กระป๋อง เล่นเกมขุดสมบัติ ให้เด็กผู้เล่นทุกคนมีก้อนหินเขียนชื่อของตนเองไว้คนละ 1 ก้อน ไปขุดหลุมทรายฝังก้อนหินไว้ในบริเวณที่ครูขีดเส้นวงกลมไว้ เสร็จแล้ว ให้เด็กทุกคนจับมือเดินหมุนตามเส้นวงกลมที่ขีดไว้ ครูอาจเปิดเพลงบรรเลงเบาๆ เมื่อเพลงจบ ให้เด็กทุกคนวิ่งไปขุดหาก้อนหินที่หลุมของตนเอง ใครหาเจอก่อนให้นำมาที่ครู
  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์ จัดกิจกรรมได้หลากหลายลักษณะ นอกจากจะนำเด็กไปศึกษานอกสถานที่ดังที่กล่าวมาแล้ว ครูอาจจัดกิจกรรมที่โรงเรียน โดยกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ คือเพื่อให้เด็กสังเกตและบอกลักษณะของหินชนิดต่างๆ และเพื่อให้เด็กจำแนกลักษณะก้อนหิน อาจชวนให้เด็กค้นหาก้อนหินที่เขาชอบจากกองก้อนหิน เมื่อได้แล้ว แต่ละคนนำมาพิจารณาอย่างละเอียด ผลัดกันเล่าลักษณะก้อนหินของตนให้เพื่อนฟัง แล้วให้เด็กนำก้อนหินมารวมกัน แล้วครูช่วยแบ่งเป็นสองกอง กองหนึ่งไปล้างน้ำ อีกกองวางไว้เช่นนั้น เด็กๆช่วยกันบรรยายลักษณะก้อนหินเปียกน้ำแตกต่างหรือเหมือนก้อนหินกองที่แห้งอย่างไร หลังจากนั้นให้เด็กเลือกก้อนหินใส่ถาดหลุมของตน ตามลักษณะที่เหมือนกัน (สี ขนาด รูปร่าง ผิวสัมผัส ลวดลาย) แล้วให้เด็กบอกเหตุผลที่ตนตัดสินใจจำแนกก้อนหินใส่หลุมต่างๆ
  • กิจกรรมสร้างสรรค์ ใช้ก้อนหินขนาดเล็กทาสี และนำมาติดบนกระดาษแข็งด้วยกาวให้เป็นลวดลาย
  • กิจกรรมเสรี ครูจัดมุมหนังสือ หาหนังสือเรื่องก้อนหินให้เด็กอ่าน เช่นเรื่อง หมีกับนักเดินทางและมิตรภาพบนก้อนหิน
  • เกมการศึกษา เล่นเกมจัดคู่ภาพกับคำ (ชื่อก้อนหิน) เล่นเกมโดมิโน ภาพก้อนหิน เกมตัดต่อภาพก้อนหิน หรือเกมลักษณะอื่นๆที่มีเรื่องก้อนหิน
  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ให้เด็กทำท่าทางตนเองเป็นก้อนหินตามจินตนาการ เคลื่อนไหวตามเสียงเพลง หรือคำคล้องจอง ก้อนหิน เช่น คำคล้องจอง ก้อนหิน (ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง) ดังนี้ “ก้อนหินก้อนใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน มีอยู่ทั่วถิ่น ทุกชิ้นสวยดี เหลืองแดงดำดำ น้ำตาลหลากสี หินอ่อนก็มี ชิ้นนี้แข็ง..จัง”
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์เรื่องหิน ครูเลือกจัดได้หลากหลายแนวทาง สิ่งสำคัญคือ เด็กได้รับโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการสัมผัสตรงกับก้อนหิน ทั้งที่ใช้หินเป็นสื่อการเรียนรู้ การนำเด็กไปเรียนรู้ที่แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวกับหิน หรือสร้างสถานการณ์ให้เด็กได้รับประสบการณ์เรื่องหิน โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ สนับสนุนให้เด็กได้คิด ในบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกและเป็นสุข

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องหินอย่างไร?

พ่อแม่สอนลูกเรื่องก้อนหินที่บ้านได้หลากหลายกิจกรรม ดังนี้
  • นำลูกสำรวจก้อนหินที่มีอยู่รอบๆบ้าน หรือในชุมชนที่อยู่ ให้ลูกได้สัมผัส จับคลำ และเอ่ยชื่อก้อนหินให้ลูกรู้จัก
  • นำลูกไปเที่ยวสถานที่ธรรมชาติที่มีก้อนหิน เช่น ชายทะเล มีก้อนกรวด โขดหิน (ให้เด็กได้ปีนป่ายบ้าง) แม่น้ำ ภู เขา ให้เขาได้พิจารณาดูใกล้ๆ
  • ไปที่ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง จัดหา ก้อนกรวดขนาดเล็ก ก้อนกลมแบน ใส ซื้อมาให้ลูกประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เช่น ออก แบบเป็นภาพ ทากาว แต่งแต้มสีให้สวยงาม นำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับสิ่งของง่ายๆ เช่น แต่งกรอบรูป แต่งกระถางต้นไม้ (ผู้ใหญ่ต้องช่วย) ทำเป็นที่ทับหนังสือ นำก้อนหินสีขาวทากาวติดกับไม้หนีบ แต่งหน้าตา ตุ๊กตาหิน
  • อ่านหนังสือเรื่อง การเกิดก้อนหิน นิทานเรื่องก้อนหินให้ลูกฟัง
  • นำก้อนหินมาตกแต่งตู้ปลา จัดสวนดอกไม้ และให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำได้
  • ทดลองวิทยาศาสตร์ โดยมีก้อนหินเป็นอุปกรณ์ เช่น การเพิ่มระดับน้ำ โดยใช้ก้อนหินใส่ในน้ำให้ลูกสังเกต
  • แนะนำให้ลูกรู้จักเครื่องใช้ในบ้านที่ได้มาจากหิน เช่น ครก แผ่นหินทางเดิน
  • ชวนลูกสะสมก้อนหินแบบต่างๆที่พบเห็นบริเวณรอบบ้าน เขียนชื่อ ติดไว้ให้ลูกอ่าน
  • เมื่อพ่อแม่มีโอกาสไปแหล่งก้อนหินต่างๆ ให้ถ่ายภาพหินชนิดต่างๆมาฝากลูก และนำมาเล่าถ่ายทอดประสบการณ์ให้ลูกฟัง เป็นการสร้างทัศนคติที่ดีของการเป็นผู้สนใจใฝ่รู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัว แม้แต่เรื่องก้อนหินก็เป็นเรื่องน่าสนใจ
พ่อแม่สร้างประสบการณ์เรื่องหินให้แก่ลูกได้ผ่านกิจกรรมชีวิตประจำวัน หรือผ่านการเล่น โดยมีก้อนหินเป็นอุปกรณ์ หรือสื่อให้เด็กได้สัมผัสจับต้อง เพื่อเด็กได้เรียนรู้จากของจริง

เกร็ดความรู้เพื่อครู

เรื่องราวเกี่ยวกับหินที่เด็กสนใจและซักถามเสมอคือ ขีดเล็กๆที่มีสีในก้อนหินคืออะไร ครูควรตอบให้เด็กได้ทราบว่า คือ แร่ธาตุที่มักผสมอยู่ในก้อนหิน แร่ธาตุมีอยู่หลายชนิด แร่ธาตุเหล่านี้เมื่อผสมกันในลักษณะต่างๆ จะได้ก้อนหินชนิดต่างๆ ครูอาจจะเปรียบเทียบกับกิจกรรมอาหารที่เคยทำ ให้นักเรียนเห็นว่า วัสดุอย่างเดียวกัน นำมาผสมต่างวิธี ก็จะได้สารอาหารแตก ต่างกัน เช่น ข้าวโพดต้มคลุกมะพร้าวกับข้าวโพดแกงบวด จะใช้เครื่องปรุงเหมือนกันทุกประการ แต่แตกต่างกันที่รูปร่างลักษณะ เมื่อปรุงแล้ว

บรรณานุกรม


  1. เกษมศรี วงศ์เลิศวิทย์. (2546). แปลจาก Jean D . Hartan และ Mary S. Rivkin. กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเล็ก การสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร : เพียร์สัน เอ็ดคูเอชั่น อินโดไซน่า.
  2. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. (สำหรับเด็กอายุ 3 -5 ปี). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
  3. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ . (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธี และ เทคนิคการสอน 1. กรุงเทพมหานคร: เดอะ มาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ .
  4. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
  5. สมบูรณ์ ศิงฆมานันท์ (2541). กระต่ายน้อยกับหินวิเศษ. กรุงเทพ มหานคร: สุวีริยสาส์น.
  6. อภิศรี นิรุตติปัญญากุล (2555). แปลจาก An, Sun-M. หมีกับนักเดินทางและมิตรภาพบนก้อนหิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เนชันบุ๊คส์.
  7. Essa, E . (1992). Introduction To Early Childhood Education. New York: Delmar.

บันทึกครั้งที่8 วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ


วันอังคารที่7 ตุลาคม 2557




วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ    


สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ เนื่องจากอยู่ในช่วงสอบ