วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ วันอังคาร ที่ 16 กันยายน 2557 บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 103 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที5 


การนำเสนอบทความของเพื่อนๆเรื่องที่


ความลับของแสง
http://www.youtube.com/watch?v=MPz2EK7PFL0
ความลับของมันเกี่ยวกับการมองเห็นของเราเอง คือพวกเราจะมองเห็นโดยการสะท้อนของแสง (Reflection) และการหักเหของแสง (Refraction) ในแก้วที่เป็นน้ำเปล่านี้เรามองเห็นแท่งแก้วได้เพราะว่า แสงเดินทางผ่านถ้วยแก้วเข้าไป แล้วไปถึงน้ำ แสงเลยเดินทางช้าลงหน่อย แล้วแสงก็ไปกระทบกับแท่งแก้วแล้วเกิดการหักเหของแสง อาจจะสะท้อนนิดหน่อยแต่หักเหมากกว่า วัตถุที่แสงวิ่งผ่านมันต่างกัน ซึ่งก็คือถ้วยแก้วกับน้ำเปล่า

แต่เชื่อไหมว่าน้ำมันพืช ที่เป็นเคล็ดลับของเรานี่ มีดรรชนีการหักเหของแสง (Index of Refraction) ที่ใกล้เคียงกับแก้วชนิดพิเศษที่เรียกว่าแก้วไพเรกส์ (Pyrex Glass – แก้วทนไฟ) แบบที่เหมือนแก้วนี้ล่ะครับ แก้วนี้ก็เป็นแก้วไพเรกส์เหมือนกัน มาดูในแก้วนี้กันครับ อันนี้ผมใส่น้ำไว้ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งเป็นน้ำมันพืช แท่งแก้วจะดูเหมือนล่องหนจากข้างบนนะครับ ดูสิครับ มันจะดูเหมือนว่าหายไป แล้วเราจะเห็นมันอีกทีตรงครึ่งที่เป็นน้ำเปล่า นี่ครับ

สิ่งที่อธิบายการทดลองนี้ได้คือสิ่งที่เรียกว่าดรรชนีการหักเหของแสงครับ ถ้าจะลองเล่นสนุกๆดูกับเพื่อนก็เล่นอย่างนี้ครับ เอาถ้วยแก้วใบใหญ่หน่อยมาใบหนึ่ง ใส่น้ำมันพืชไว้ แล้วก็วิธีที่ง่ายที่สุดถ้าอยากจะหาแก้วไพเรกส์ก็คืออาจจะขอยืมเอาจากคุณครูวิทยาศาสตร์ คุณครูมักต้องมีแท่งแก้วทนไฟไว้ใช้ในการทดลองอยู่แล้ว แต่บางทีเวลาคุณทำอาหารอาจจะมีอุปกรณ์บางอย่างที่ทำจากแก้วไพเรกส์ หรือพวกตุ๊กตาแก้วตัวเล็กๆ พวกนั้นก็มักทำมาจากแก้วไพเรกส์เหมือนกัน 

1 ความคิดเห็น:

  1. ครั้งที่ 5 การเรียนการสอน
    1.ครูสร้างสถานะการณ์ในชั้นเรียน
    2.ครูให้แสดงความคิดเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามีเหตุการณ์อะไรบ้าง
    3.ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นประโยชน์หรือข้อควรแก้ไข
    ....สิ่งที่เกิดขึ้นคือส่วนใหญ่จะแสดงความคิดเห็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากนักศึกษา ซึ่งจะทำให้เราได้ข้อมูลที่ไม่รอบด้าน
    มีสาเหตุจากการที่นักศึกษาไม่กล้าวิพากษ์สิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์และระบบ ดังนั้นจึงควรที่จะมองและนำเสนอให้ครบทุกด้านเพราะข้อเท็จจริงจะทำให้เราแก้ปัญหาหรือพัฒนางานได้ครอบคลุม ....
    4จึงเริ่มใหม่ให้มองและนำเสนอทุกแง่มุม...
    5.วิเคราะห์สาเหตุแต่ละสาเหตุเช่นเสียงดังทำให้ฟังไม่ชัดผลคือเก็บข้อมูลไม่ครบ เป็นต้น
    6.เสนอแนวทางแก้ไข
    ที่กล่าวมาเป็นคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ที่เราจะต้องนำไปปลูกฝังและพัฒนาเด็กต่อไป
    บทความของเพื่่อนควรสรุปสาระสำคัญและข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากครู
    งานมอบหมายสรุปแสงไม่ครบประเด็น - ความหมาย -ความสำคัญ -คุณสมบัติ - กิจกรรมทดสอบคุณสมบัติ
    ประโยชน์
    ปรับปรุงนะคะจะดีมากคะ

    ตอบลบ